1. หลักการทั่วไป

-นิยาม
นิยาม
“โรงพยาบาลสนาม” หมายถึง สถานที่ที่ให้การดูแลรักษาพยาบาลซึ่งเกินศักยภาพการจัดระบบบริการในการรองรับผู้ป่วย เพื่อใช้ดูแลผู้ป่วยด้านโรคติดต่อในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคมีการตรวจรักษาผู้ป่วยตามหลักมาตรฐาน มีการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปสู่บุคลากร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มีการควบคุมป้องกันโรคให้อยู่ในวงจำกัด โดยหากจำเป็นสามารถดำเนินการส่งต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพมากกว่า และ ปิดดำเนินการโรงพยาบาลเมื่อสิ้นสุดการระบาดหรือมีการควบคุมโรคได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้การจัดตั้งจะตั้งนอกสถานพยาบาลสามารถจัดตั้งได้อย่างรวดเร็ว ขยายหรือลดขนาดตามความเหมาะสม ขึ้นกับการดำเนินการของหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ เช่น วัด โรงเรียน โรงยิม หรือ หอประชุมขนาดใหญ่ เป็นต้น ในการคัดเลือกสถานที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ความต้องการของชุมชน และทรัพยากรด้าน สาธารณสุขที่มีอยู่ เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ในสภาวการณ์ที่มีการระบาดได้รับการดูแลรักษาอย่างปลอดภัย ผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จังหวัด และ หน่วยงานอื่นๆ รวมถึงมีการกำหนดคณะทำงานที่ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน
-วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม
- เพื่อตรวจรักษาตามมาตรฐาน กรณีโรงพยาบาลที่มีอยู่ไม่สามารถรับผู้ป่วยโรคระบาดจำนวนมากได้
- เพื่อป้องกันควบคุมโรคให้อยู่ในวงจำกัด โดยแยกกักผู้ป่วย (isolation) กรณีโรคที่มีการแพร่เชื้อหรือมีความรุนแรงสูง ซึ่งเสี่ยงต่อการระบาดหากรับการรักษาที่โรงพยาบาลทั่วไป
- เพื่อจัดให้มีระบบควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่มีความพิเศษตามรูปแบบของการแพร่กระจายของโรคได้
- เพื่อการคัดกรองผู้ป่วย (screening) ตามความรุนแรง และวางแนวทางการรักษาหรือส่งต่อ
-ข้อบ่งชี้การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม
ข้อบ่งชี้การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม
ในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม
จะพิจารณาตามสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19
โดยพิจารณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้
- จำนวนผู้ป่วยสงสัยอาการเดียวกันเพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติ และมีแนวโน้มมากเกินศักยภาพของโรงพยาบาลที่มีอยู่ หรือเป็นโรคที่มีความจำเป็นต้องควบคุม คัดแยก แยกกักผู้ป่วยในพื้นที่พิเศษ
- มีรายงานการระบาดในพื้นที่ใกล้เคียงและมีแนวโน้มระบาดเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบ
- มีคำเตือนหรือคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักระบาดวิทยา สำนักงาน ควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุข หรือ องค์การอนามัยโลก
- อัตราการมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินหรือโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น อัตราการรับเข้าไว้รักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วย PUI เพิ่มสูงขึ้น เกินความสามารถของโรงพยาบาลในการรองรับผู้ป่วย
- มีคำสั่งให้เปิดดำเนินงานโรงพยาบาลสนามด้านโรคระบาด จากผู้ที่มีอำนาจสั่งการ โดยได้รับอนุญาตจากพื้นที่ที่จัดตั้งโรงพยาบาล
2. ระบบการบริหารจัดการ
-คำสั่งคณะกรรมการโรงพยาบาลสนามฯ
การบริหารจัดการในภาพรวม ขับเคลื่อนโดยใช้กลไกของระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยโรงพยาบาลสนามเป็นส่วนหนึ่ง (Division) ของฝ่ายปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical Operation Section) และบริหารจัดการโดยใช้คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ที่ 1944/2564 ลงวันที่ 7พฤษภาคม 2564(link คำสั่ง)
-โครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ฯ

-แผนผังโรงพยาบาลสนาม
แผนผังโรงพยาบาลสนาม ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดเชียงใหม่
3. การรับผู้ป่วยเข้าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Admission)

3. การรับผู้ป่วยเข้าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Admission) (ต่อ)
- เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยเข้าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Admission criteria)
- เป็นผู้ป่วยที่มีผลยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 (Confirmed case) ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ในกรณีที่เด็ก อายุ ตั้งแต่ 3-14 ปี ต้องอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง
- เป็นผู้ป่วย mild case และไม่ต้องใช้ O2 (O2 sat > 94% ขณะพัก)/ไม่เหนื่อย (หายใจน้อยกว่า 22 ครั้ง/นาที ขณะพัก)
- เป็นผู้ป่วยรับใหม่ หรือผู้ป่วยเก่าที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วเมื่อมีอาการคงที่ และ/หรืออาการดีขึ้น หรือผู้ป่วยที่รอจำหน่าย
- ภาพเอกซเรย์ปอดปกติหรือมีรอยโรคในปอดไม่เพิ่มขึ้นหลังการรักษาจากโรงพยาบาลโควิด
5.สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ก้าวร้าว ไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช
6.ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อนที่อาจทำให้แย่ลงเร็ว
(No comorbid risk factor/risk for rapid progress severity) เช่น
( ) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดอื่น ๆ
( ) โรคไตเรื้อรัง (CKD)
( ) โรคหลอดเลือดหัวใจเรื้อรัง (CVD) รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด
( ) โรคหลอดเลือดสมอง
( ) ความดันโลหิตสูง
( ) เบาหวาน
3. การรับผู้ป่วยเข้าหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Admission) (ต่อ)
( ) ภาวะอ้วน (BMI > 35)
( ) ตับแข็ง
( ) ภูมิคุ้มกันต่ำและ Lymphocyte < 1,000
( ) สตรีตั้งครรภ์
( ) เด็กอายุต่ำกว่า3ปี
- กระบวนการรับผู้ป่วย (Admission process)
- การบันทึก การรับผู้ป่วย (Admission record & report)
เวชระเบียนสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ประกอบด้วย
- ฟอร์มปรอท ต้องบันทึกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
- Nurse note ต้องบันทึกอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยทุกเวร
- Standing order for COVID 19
- บันทึกข้อมูลการแอดมิทใน CMC19 และ โปรแกรม COWARD
4. การรับผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นจากโรงพยาบาลอื่น (Step down)

- เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วย Step down
ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน รพ.NODEแล้วอาการดีขึ้น O2 sat > 94% ขณะพัก ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ขณะพัก ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาฉีดต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด
- กระบวนการรับผู้ป่วย Step down
- รับติดต่อจาก Hospital Unit และ รพ.ต้นทาง
- ส่งข้อมูลผุ้ป่วยทางLine เพื่อรายงานแพทย์ รพ.สนามพิจารณารับเข้า รพ.สนาม
- แพทย์พิจารณาแล้วรับเข้า รพ.สนาม เจ้าหน้าที่สวมPPEตามมาตรฐาน
- รพ.ต้นทางส่งเวรอาการผู้ป่วยให้กับพยาบาล รพ.สนามทางโทรศัพท์ 053-010561-2
- รพ.ต้นทางจัดรถส่งผู้ป่วยมายัง รพ.สนาม
- เมื่อผู้ป่วยมาถึง เข้าประตู 9 และด้านหลัง Hall 1
- เปิด/ปิดประตูแผงกั้นด้านนอก ทางเข้า/ออก
- ลงทะเบียน และแจกชุดรับใหม่ แจ้งผู้ป่วยเตรียมตัว และอธิบายแนวทางการดูแลใน รพ. สนาม และให้ผู้ป่วยสแกนQR code เพื่อติดต่อกับพยาบาล
- การบันทึก รายงานผู้ป่วย step down (Step down record & report)
-บันทึกใน CMC 19และCoward
5. การนำส่งผู้ป่วยจากรพ.ต้นทางสู่รพ.สนาม

- รพ. ต้นทางติดต่อ พยาบาล.รพ.สนาม โทร 053-010561-2และระบบ CMC-19
- รพ.ต้นทางจัดรถส่งผู้ป่วยมายัง รพ.สนาม เจ้าหน้าที่สวมPPEตามมาตรฐาน
- รถreferรพ.ต้นทาง ต้องติดต่อ รพ.สนาม ก่อนถึงรพ.สนาม10-15นาที
(ทิศเหนือจุดแยกกองพันสัตว์ต่าง ทิศตะวันออก สามแยกสวนล้านนาร.9 ทิศใต้ แยกโรงแรมภูคำ)
- รถ refer เข้าประตู 9 หอประชุม แล้วจอดตรงด้านหลังของ Hall 1
- เปิด-ปิด ประตูแผงกั้นด้านนอกทางเข้า-ออก
- ลงทะเบียน และแจกชุดรับใหม่ แจ้ง ผู้ป่วยเตรียมตัว และอธิบายแนวทางการดูแลใน รพ. สนาม และให้ผู้ป่วยสแกนQR code เพื่อติดต่อกับพยาบาล
6. การส่งต่อผู้ป่วยที่อาการเปลี่ยนแปลงแย่ลง (Step up )

- เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยที่อาการเปลี่ยนแปลงแย่ลง
ผู้ป่วยมี Progressive disease from mild to moderate or severe case
- Pneumonia (CXR) with or without hypoxia or
- Sat O2 room air < 94% (ระหว่าง refer on O2 cannula ไม่เกิน 5 LPM) or
- RR > 22 BPM (สมาคมอุรเวชช์) or
- Multiple organs dysfunction
- กระบวนการส่งต่อผู้ป่วยที่อาการเปลี่ยนแปลงแย่ลง (Step up criteria)
- รพ.ที่กำหนดให้เป็น รพ.ปลายทางรับ Step up Refer ได้แก่ รพ.สันทราย, รพ.ประสาทเชียงใหม่, รพ.นครพิงค์และรพ. มหาราชนครเชียงใหม่
- พยาบาล/แพทย์ รพ.สนาม ปรึกษา Hospital Unit ทาง ไลน์ step up เพื่อเลือก รพ. ปลายทาง
- พยาบาล รพ.สนาม ประสาน call center รพ. นครพิงค์ Tel : 053-999-200 ต่อ 1176 และไลน์ step up
- Call center ประสาน รพ.ปลายทาง และศูนย์เวียงพิงค์ เตรียมรับ case refer
- เมื่อ รพ. ปลายทางพร้อมรับผู้ป่วย Call center ประสาน ศูนย์เวียงพิงค์ เพื่อจัดทีม refer COVID-19 ไปรับผู้ป่วยพยาบาล
- รพ.สนาม ส่งข้อมูลผู้ป่วยทางไลน์step up
- พยาบาล รพ.สนาม เตรียมผู้ป่วย รอที่จุดนัดพบ เพื่อพบทีม refer
- ทีม refer นำส่งผู้ป่วย รพ.ปลายทาง ในจุดที่ รพ.ปลายทางกำหนด พร้อมกรอกข้อมูลลงแบบบันทึกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน และกลับมาถอดชุด ล้างรถที่ รพ.สนาม
- บันทึกการส่งออกใน CMC19
7. การจำหน่าย กรณีผู้ป่วยต้องการไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่น

- ให้ผู้ป่วยติดต่อโรงพยาบาลปลายทางที่ต้องการไปรักษาต่อ
- โรงพยาบาลปลายทางติดต่อมายัง รพ.สนาม
- พยาบาล รพ.สนามรายงานแพทย์ รพ.สนาม เพื่อพิจารณาย้าย รพ.ตามความประสงค์ของผุ้ป่วย
- พยาบาล รพ.สนามส่งข้อมูลให้ รพ.ปลายทางทางไลน์
- รพ.ปลายทางส่งรถมารับผู้ป่วยทางประตู9 ด้านหลังHall 1
- สรุปเวชระเบียน
- บันทึกในCMC19
8. การจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน กรณีรับการรักษาครบ

- นอนพักรักษาอาการอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันตรวจพบ (detected date) หรือวันที่มีอาการ
- Clinical
- ไม่มีไข้ อย่างน้อย 48 ชม.
- Respiratory rate น้อยกว่า 20 ครั้งต่อนาที
- O2 Sat > 94% ขณะพัก
(หมายเหตุ: ปรับตามมติ EOC จังหวัดเมื่อวันที่ 14, 16 เมษายน 2563)
- กระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน
- ข้อมูลผู้ป่วยจำหน่าย File Discharge จะถูกส่งในกลุ่ม ไลน์ D/C เวลา00, 20.00, .ของแต่ละวัน
- ตรวจสอบข้อมูล โดยพยาบาล IT จัดการข้อมูลผู้ป่วย ตรวจสอบสถานะความพร้อม อาการผู้ป่วย พร้อมให้ผู้ป่วยถ่ายบัตร ปปช เพื่อยืนยันตัวตน
- แจ้งผู้ป่วยทราบ โดยพยาบาล IT แจ้งผู้ป่วยทาง line ว่าได้กลับบ้านพรุ่งนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยเตรียมตัวก่อนกลับ
- พิมพ์ใบรับรองแพทย์ โดยพยาบาล IT ตรวจสอบรายชื่อผู้ป่วยแล้ว จัดทำใบรับรองแพทย์เพื่อให้แพทย์เวรเซ็นชื่อในใบรับรองแพทย์
- จัดเตรียมใบเซ็นชื่อให้ผู้ป่วยเซ็นในวันถัดไป โดยพยาบาล IT printรายชื่อผู้ป่วยให้ พยาบาลจำหน่ายเวรดึก เช็คความถูกต้อง
- จำหน่ายผู้ป่วย โดยพยาบาลจำหน่ายเข้า Hall เพื่อประสานการจำหน่ายผู้ป่วยที่จะกลับบ้านพร้อมเซ็นชื่อออก รพ.สนาม
สรุปเวชระเบียน สรุปยาที่ใช้ ค่าใช้จ่าย สรุปวันนอนของผู้ป่วยและการวินิจฉัยครั้ง
9. กระบวนการดูแลผู้ป่วย

-การดูแลผู้ป่วยทั่วไป (Routine patient care)
- การดูแลผู้ป่วยทั่วไป (Routine patient care)
- การวัดสัญญาณชีพ ( Vital signs)
ให้ผู้ป่วยวัดอุณหภูมิร่างกาย วัดความดันโลหิต ชีพจร วัดค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด และส่งค่าที่ได้จาการวัดส่งมาทางไลน์ วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ตามเวลาที่กำหนด
- การจ่ายยาต้านไวรัส อยู่ในการพิจารณาของแพทย์โรงพยาบาลสนาม
- การจ่ายยาตามอาการ ขึ้นอยู่กับ อาการและ อาการแสดง ของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลง
- การประเมินอาการรายวัน พยาบาลประเมินจากไลน์ที่ผู้ป่วยส่งข้อมูล หากมีอาการผิดปกติ ให้รายงานแพทย์ และ บันทึกในเวชระเบียน
-การดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ (Special patient care)
- การดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ (Special patient care)
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตเวช ให้มีการประเมิน 2Q 9Q โดยทีม MCATT
- ผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติด ให้มีการประเมินการใช้สารเสพติดในผู้ป่วยทุกราย และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยที่มีภาวะการณ์เจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย / โรค Underlying diseases ให้มีการซักประวัติ และบันทึกข้อมูลการได้รับยาเกี่ยวกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
- ผู้ป่วยเด็ก 3-15 ปี ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง(ไม่รับผู้ป่วยเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี )
10. Time line การปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ต่อวัน

11. แนวทางปฏิบัติงานของหน่วยลำเลียงผู้ป่วย

การเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน
- เตรียมความพร้อมของรถ อุปกรณ์ต่างๆ ความปลอดภัยในการแพร่เชื้อในรถ
- เตรียมความพร้อมของ พนักงานขับรถ และ เจ้าหน้าที่เวชกิจ (ตารางเวร การซักซ้อมใส่/ถอดชุด อุปกรณ์ PPE อุปกรณ์ทำความสะอาดรถ)
ขณะปฏิบัติงาน
- รับผู้ป่วยระบบ Hospital unit
- รพ. ต้นทางติดต่อ พยาบาล.รพ.สนาม โทร 053-010561-2 และระบบ ไลน์Step up
- นำส่งโดยรถ refer รพ ต้นทาง จนท.สวมPPEตามมาตรฐาน
- รถ refer ติดต่อ รพ สนาม เมื่อออกจากต้นทาง และ30นาทีก่อนถึง รพ.สนาม (ทิศใต้-อำเภอหางดง ทิศเหนือ อำเภอแม่ริม)
- รถ refer เข้าประตู9 จอดด้านหลัง Hall 1
- เปิดประตูทางเข้านามเรียกขานเสือดำ เอาแผงกั้นออกโดยอส.
- ผู้ป่วยเดินเข้า
- ปิดประตูทางเข้า/ออกแผงกั้น โดย อส.นามเรียกขาน เสือดำ
- รถ พยาบาล เดินทางกลับ รพ ต้นทาง
- ตามแนวทางการจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน
1.3 Refer Step up (อาการเปลี่ยนแปลง)
แนวทางในการ refer case ออกจากโรงพยาบาลสนาม (ส่งต่อ รพ. สันทราย ประสาท นครพิงค์ มหาราชฯ)
- พยาบาล/แพทย์ รพ.สนาม ปรึกษา Hospital Unit ทาง ไลน์ step up เพื่อเลือก รพ. ปลายทาง
- พยาบาล รพ.สนาม ประสาน call center รพ. นครพิงค์ Tel : 053-999-200 ต่อ 1176 และไลน์ step up
- Call center ประสาน รพ.ปลายทาง และศูนย์เวียงพิงค์ เตรียมรับ case refer
- เมื่อ รพ. ปลายทางพร้อมรับผู้ป่วย Call center ประสาน ศูนย์เวียงพิงค์ เพื่อจัดทีม refer COVID-19 ไปรับผู้ป่วยพยาบาล
- รพ.สนาม ส่งข้อมูลผู้ป่วยทางไลน์step up
- พยาบาล รพ.สนาม เตรียมผู้ป่วย รอที่จุดนัดพบ ทีม refer
- ทีม refer นำส่งผู้ป่วย รพ.ปลายทาง ในจุดที่ รพ.ปลายทางกำหนด พร้อมกรอกข้อมูลลงแบบบันทึกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน และกลับมาถอดชุด ล้างรถที่ รพ.สนาม
หลังการปฏิบัติงาน
- ล้างรถโดยน้ำยาตามมาตรฐาน ณ รพ.ต้นทาง
- จนท.อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย
- ทำงานตามปกติ
- Self-monitor + record 14 วัน
12. แนวทางปฏิบัติงานของทีมดูแลรักษา

การเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน
- จัดตารางเวร (ผอ.เชียงดาว / หัวหน้าชมรม พยาบาล.)
- ฝึกซ้อมการใส่/ถอดชุด PPE
- เตรียมชุดให้เพียงพอต่อการใช้งานอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- จัดเตรียมสต๊อกยา
- ฝึกการใช้ระบบสื่อสาร
- ฝึกการใช้งานโปรแกรม CMC-19
ขณะปฏิบัติงาน
- ปฏิบัติงาน ที่ nurse station
- ล้างมือ วัดอุณหภูมิ บันทึกการทำงาน
- เปลี่ยนชุดปกติ เป็นชุดผ่าตัด1 ที่บริเวณโถง nurse station แขวนชุดในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า
- ทำงานตามปกติทั่วไป
- บันทึกโปรแกรม CMC-19
- ติดต่อผู้ป่วยผ่านโปรแกรม line , โทรศัพท์, hall speaker
- บันทึก Vital sign ผู้ป่วย
- Detect ภาวะทางจิตใจของผู้ป่วย (ติดต่อแพทย์ และหน่วยสุขภาพจิต)
3.Refer รับเข้า
- รับติดต่อจาก Hospital Unit และ รพ.ต้นทาง
- ผู้ป่วยมาถึง เข้าประตู 9 และด้านหลัง หวอดชาย/หญิง
- เปิด/ปิดประตูแผงกั้นด้านนอก ทางเข้า/ออก
- จุดลงทะเบียน และแจกถุงผู้ป่วย
- แจ้ง ผู้ป่วยเตรียมตัว และแนวทางการดูแลใน รพ สนามโดยระบบ
- รถกระจก หรือ โทรศัพท์ หรือ line
- Refer ส่งออก แนวทางในการ refer case ออกจากโรงพยาบาลสนาม (ส่งต่อ รพ. สันทราย ประสาท นครพิงค์ มหาราชฯ)
- พยาบาล/แพทย์ รพ.สนาม ปรึกษาแพทย์ call center รพ. นครพิงค์ เพื่อเลือก รพ. ปลายทาง
- พยาบาล รพ.สนาม ประสาน call center รพ. นครพิงค์ Tel : 053-999-200 ต่อ 1176
- Call center ประสาน รพ.ปลายทาง และศูนย์เวียงพิงค์ เตรียมรับ case refer
- เมื่อ รพ. ปลายทางพร้อมรับผู้ป่วย Call center ประสาน ศูนย์เวียงพิงค์ เพื่อจัดทีม refer COVID-19 ไปรับผู้ป่วย
- พยาบาล รพ.สนาม ส่งข้อมูลผู้ป่วยทางไลน์step up
- พยาบาล รพ.สนาม เตรียมผู้ป่วย รอที่จุดนัดพบ ทีม refer
- ทีม refer นำส่งผู้ป่วย รพ.ปลายทาง ในจุดที่ รพ.ปลายทางกำหนด พร้อมกรอกข้อมูลลงแบบบันทึกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน และกลับมาถอดชุด ล้างรถที่ รพ.สนาม
** แนวทางการ refer case สามารถปรับตามสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยเป็นระยะ
- การสื่อสารกับผู้ป่วย
ใช้ระบบ line หรือ โทรศัพท์ หรือ hall speaker
- การเข้าดูแล หรือจ่ายยาในหอผู้ป่วย
- รวบรวมข้อมูลยาหรืออาการผู้ป่วยที่จะต้องดุแลจาก Incharge
- ติดต่อผู้ป่วยทุกคนที่มียามาที่จุดนัด (ด้านหน้า)หรือแจกยาตามเตียงจนจนเสร็จภารกิจ
- การเข้าหอผู้ป่วย
- ออกจาก Nurse station (ชุดผ่าตัด 1) แต่งตัวชุด PPE ใส่ PAPR ที่เตรียมไว้ บริเวณโซน IC
- เข้าไปหอผู้ป่วย โซนด้านหน้า
- การออกจาก หอผู้ป่วย
- ผู้ช่วยเหลือคนไข้สวมชุดPPE ชุดB เพื่อเตรียมถอดชุดPAPRให้กับพยาบาล
- ถอดชุดที่ PPE เหลือตามแนวทางการถอดชุดอุปกรณ์ป้องกัน (มีคนสังเกต + กระจก) มี
- ไปห้องน้ำตามทางที่กำหนด + อาบน้ำ
- เปลี่ยนเป็นชุดผ่าตัด 2
- กลับเข้า nurse station
7.การแจกจ่ายยา
- จ่ายยาครั้งแรกให้พอเพียง 1 สัปดาห์
- กรณียาเพิ่ม พยาบาลติดต่อผู้ป่วยโดยระบบให้รอที่เตียง ขนส่งโดยรถด้านหลังHall หรือนำไปให้พร้อมอาหาร (เขียนชื่อติด)
8.การแจกจ่ายอาหาร
- เจ้าหน้าที่ นำอาหารมาวางที่จุดที่เตรียมไว้
- พยาบาลและจิตอาสานำอาหารจากจุดที่กำหนด ไปบางบนโต๊ะ ที่ด้านทางออกด้านหลัง (ใกล้โซนอาบน้ำ)
- ผู้ป่วยเดินมาหยิบอาหารและน้ำดื่มเอง
9.การควบคุมการทำความสะอาดพื้นที่
- กำกับ จิตอาสาทำความสะอาด วันละ 2ครั้ง เช้า เย็น
- ห้องน้ำ / ห้องส้วม
- ถังขยะจุดกินข้าว/หรือประตูหลัง ที่ให้ผู้ป่วยนำมาทิ้ง)
- การควบคุมการทำความสะอาดที่นอน
- เมือผู้ป่วยรับเข้า แจกอุปกรณ์เครื่องนอน และรับคืนเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน
กำกับ จิตอาสาทำความสะอาดหลังจากผู้ป่วยกลับบ้าน
13. แนวทางปฏิบัติงานของทีมเภสัชกร

- เตรียม stock ยาให้เพียงพอ ตามรายการ และบรรจุในซองพร้อมใช้ สำหรับ 7 วัน
- จัดชุดยา symptomatic เป็นซองๆละ 7 วัน
- จ่ายยาผู้ป่วยแรกเข้าโดยพยาบาลให้เพียงพอต่อการใช้ 7 วันโดยให้ผู้ป่วยจัด/กินยาตามมื้อเอง
- กรณียาอื่นๆ ให้พยาบาลจัดและจ่ายไปพร้อมกับอาหารผู้ป่วย
- พยาบาลคีย์การใช้ยาในโปรแกรม CMC-19
- ให้คำปรึกษาผู้ป่วย
- ให้คำปรึกษาทีมผู้ดูแลรักษา
14. แนวทางปฏิบัติงานของทีมสุขภาพจิต

15. แนวทางปฏิบัติงานของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ

ร่วมกับฝ่ายความปลอดภัย ให้ความคิดเห็นและดูแลความปลอดภัยของบุคลากร และป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาลสนาม
พยาบาล IC คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าที่หัวหน้าทีม (พิจารณาจากคุณวุฒิเป็นหลัก) ปฏิบัติหน้าที่
- ปฐมนิเทศพยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ มอบหมายงาน ประเมินและทนสอบความรู้
- ประสานงานสหวิชาชีพอื่น ในโรงพยาบาลสนามและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- จัดเตรียมชุด PPE ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน
- เป็นที่ปรึกษาให้ความรู้และให้คำแนะนำด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อบุคลากรที่มาปฏิบัติหน้าที่โรงพยาบาลสนาม
- ควบคุมกำกับติดการการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้แก่ พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ พนักงานขับรถ เจ้าหน้าที่ back office
- เบิกพัสดุและวัสดุการแพทย์ เตรียม set ให้เพียงพอ พร้อมใช้
- ช่วยบุคลากรในการสวมชุด PPE
- ตรวจสอบการทำงานของ PAPR
- ดูแลจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การจัดการผ้าเปื้อน และสิ่งแวดล้อม
- เฝ้าระวังการติดเชื้อของบุคลากรจากการปฏิบัติงาน ร่วมทีมสอบสวนโรค ร่วมตัดสินใจในการงดการปฏิบัติงานหรือกักตัวของบุคลากรที่มีความเสี่ยง ดูแลบุคลกรที่เจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน
พยาบาล IC คนที่ 2 ทำหน้าที่ร่วมทีม ปฏิบัติหน้าที่
- จัดเตรียมชุด PPE ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน
- เป็นที่ปรึกษาให้ความรู้และให้คำแนะนำด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อบุคลากรที่มาปฏิบัติหน้าที่โรงพยาบาลสนาม
- ควบคุมกำกับติดการการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้แก่ พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ พนักงานขับรถ เจ้าหน้าที่ back office
- เบิกพัสดุและวัสดุการแพทย์ เตรียม set ให้เพียงพอ พร้อมใช้
- ช่วยบุคลากรในการสวมชุด PPE
- ตรวจสอบการทำงานของ PAPR
- ดูแลจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การจัดการผ้าเปื้อน และสิ่งแวดล้อม
- เฝ้าระวังการติดเชื้อของบุคลากรจากการปฏิบัติงาน ร่วมทีมสอบสวนโรค ร่วมตัดสินใจในการงดการปฏิบัติงานหรือกักตัวของบุคลากรที่มีความเสี่ยง ดูแลบุคลกรที่เจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน
16. แนวทางปฏิบัติงานของทีมควบคุมโรค

การเตรียมการก่อนปฏิบัติงาน
1.. วางระบบและแนวทางการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนในโรงพยาบาลสนามของ 4 กลุ่มโรคติดต่อที่พบบ่อยร่วมกับทีมรักษาต่อไปนี้
- โรคติดต่อนำโดยแมลง คือ โรคไข้เลือดออก
- โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ คือ โรคอาหารเป็นพิษ
- โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจคือ โรคไข้หวัดใหญ่
- โรคผิวหนังและโรคตาแดง คือ โรคหิด โรคหัด ผื่นจากแมลงก้นกระโดก โรคตาแดง
2.วางระบบการสอบสวนและควบคุมโรคติดต่อเฝ้าระวังทั้งใน 4 กลุ่มโรคและผู้ป่วย COVID-19 ที่เป็นผู้ป่วยรายใหม่รับโดยตรงที่โรงพยาบาลสนาม (ไม่ใช่ผู้ป่วยรับส่งต่อหรือรับมาดูแลต่อเนื่อง) โดยมีการจัดตารางเวรการสอบสวนโรคในโรงพยาบาลสนามประจำทุกวันจากเครือข่ายทั้งจังหวัดทั้งโรงพยาบาลและ รพ.สต. เพื่อประสานกับพื้นที่ในการสอบสวนและควบคุมโรค
3.ประสานฝ่ายอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อเตรียมความพร้อมร่วมกันในการป้องกันโรคติดต่อใน 4 กลุ่มโรค
4.ประสานงานควบคุมโรคระดับจังหวัด และระดับอำเภอเพื่อขอสนับสนุนทีมควบคุมโรคและกรณีส่งผู้ป่วยกลับชุมชน
ขณะปฏิบัติงาน
- จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านการสอบสวนและควบคุมโรคทุกวัน เป็นเวร On Call ในเวรเช้าและเวรบ่าย
- มีเอกสาร/โปรแกรมเฝ้าระวังโรคในการรายงานขั้นต้นให้กับทีมรักษาเมื่อมีการตรวจพบโรคที่เฝ้าระวังทั้ง 4 กลุ่มโรคหรือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย COVID-19 แต่แรกที่โรงพยาบาลสนาม และแจ้งผู้ที่อยู่เวรรับผิดชอบการควบคุมโรคในโรงพยาบาลสนามภายในเวร 8 ชั่วโมง (ยกเว้นเวรดึกให้รายงานเป็นเวรเช้า)
- ผู้ที่อยู่เวรรับผิดชอบการควบคุมโรคในโรงพยาบาลสนามรับแจ้งแล้วประสานส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง
- ผู้ที่อยู่เวรรับผิดชอบการควบคุมโรคในโรงพยาบาลสนามรายงานให้ทางผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคในโรงพยาบาลสนาม (นางพิมพินันท์ คำมาวัน) เพื่อรายงานหัวหน้าส่วนปฏิบัติการ (OSC) และงานควบคุมโรคในระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาสนับสนุนทีมสอบสวนและควบคุมโรคระดับจังหวัดต่อไป (สนับสนุนทีมสอบสวนและควบคุมโรคจากอำเภอแม่ริมและอำเภอเมือง)
- รวบรวมสรุปรายงานเสนอผู้บริหาร
17. แนวทางปฏิบัติงานของทีมทีมอนามัยสิ่งแวดล้อม

- ป้องกันโรคนำโดยแมลง สัตว์กัดแทะ
- ร่วมกับส่วนสนับสนุนหาทีมทำความสะอาดระหว่างเปิดปฏิบัติการ
- ระหว่างเปิดรพ.ให้ควบคุมสัตว์และแมลงเป็นระยะ
- ควบคุมการทำความสะอาดพื้นที่
- กำกับเจ้าหน้าพนักงาน outsource ที่เข้าทำงาน
- ดูแลความเรียบร้อยห้องน้ำ ห้องส้วม ถังขยะจุดกินข้าว/หรือประตูหลัง ที่ให้ผู้ป่วยนำมาทิ้ง
18. แนวทางปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่งานIT

19. แนวทางปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน

20. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Job Description) ของพยาบาลจำแนกตามเวรและจำนวนผู้ป่วย

-กรณีมีผู้ป่วย จำนวน 501 ราย -1000 ราย
ป
-กรณีมีผู้ป่วย จำนวน 300 ราย -500 ราย
ป
-กรณีมีผู้ป่วย จำนวน น้อยกว่า 300ราย
ป
21. หน้าที่ความรับผิดชอบ (Job Description) ของผู้ช่วยเหลือคนไข้จำแนกตามเวรและจำนวนผู้ป่วย

-กรณีผู้ป่วย มากกว่า500 ราย
ป
-กรณีผู้ป่วย น้อยกว่า500 ราย
ป
22. ยาและเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลสนาม

23. รายการพัสดุ-ครุภัณฑ์ ในโรงพยาบาลสนาม

23.1 รายการวัสดุ-ครุภัณฑ์การแพทย์หลัก
รายการครุภัณฑ์การแพทย์
- Mobile Pulse Oximeter 1 เครื่อง ต่อผู้ป่วย 10 คน
- เครื่องวัดความดันชนิดแขนสอดแบบอัตโนมัติ hall ละ 1 เครื่อง
- Defibrillator 1 เครื่อง
- Video Laryngoscope with Blade 1 เครื่อง
- รถเข็นอุปกรณ์ Emergency hall ละ 1 เครื่อง
- ล้อเข็นนั่ง hall ละ 1 เครื่อง
- ล้อเข็นนอน hall ละ 1 เครื่อง
- เสาน้ำเกลือ hall ละ 1 เสา
- เครื่องชั่งน้ำหนัก 1 ชุด
- AED 1 เครื่อง
- NIBP with Wifi hall ละ 1 เครื่อง
- Mobile Suction 1 เครื่อง
- ถัง Oxygen size D พร้อม เกจน์ 5 ชุด
- Capsule negative pressure สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 1 ชุด
- กระเป๋าพร้อมอุปกรณ์ EMS จำนวน 1 ชุด ( อยู่ที่ nurse station )
- oxygen cannular 50 set
- oxygen mask with bag 20 set
23.2 รายการวัสดุ-ครุภัณฑ์การแพทย์เสริม
- เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว พร้อมเข็มเจาะ
- ชุดทำแผล
- ชุดให้สารน้ำทางหลอดเลือด
23.3 รายการวัสดุ-ครุภัณฑ์งานบ้าน-งานครัว และสำนักงานในโรงพยาบาลสนาม
24. การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลสนาม

-การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่สวมชุดPPE กรณีเกิดภาวะฉุกเฉิน
24.1 การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่สวมชุดPPE กรณีเกิดภาวะฉุกเฉิน
1.ทำการเคลื่อนย้าย เจ้าหน้าที่ ไปในพื้นที่โล่ง ปลอดภัยและใกล้ที่สุด เช่น .Nurse stationใน Hall หรือทางเดินหน้า Hall หรือประตูทางออกหลัง hall
- การส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
- ใช้ วิทยุสื่อสารที่พกติดตัว แจ้ง Nurse station เพื่อขอความช่วยเหลือ
- หรือ ขอความช่วยเหลือจากผู้ป่วย ให้โทรศัพท์แจ้ง Nurse station
- กดกริ่งสัญญาณฉุกเฉิน ***กรณีมีกริ่ง
3.ขั้นตอนการถอดชุด PPE
การช่วยถอด PPE ต้องมีผู้ช่วย อย่างน้อย 2 คน
2.1 กรณีผู้เป็นลมไม่รู้สึกตัว
- จัดให้เจ้าหน้าที่ที่เป็นลมนอนท่าตะแคงซ้ายห้ามนอนหงาย รูป 1- 2
- ผู้ช่วย ทั้ง 2 คนลูบมือด้วย alcohol hand rub
- ผู้ช่วย คนที่ 1 อยู่ด้านหน้าผู้ที่เป็นลม ดึงเทปกาวที่ข้อมือออก ผู้ช่วย คนที่ 2 อยู่ด้านหลัง ช่วยดึงเทปกาวที่ปิด Isolation gown ด้านหลังออก และดึงเชือกผูกที่เอวด้านขวาให้หลุด รูป 3
- ผู้ช่วย คนที่ 1 ถอด Isolation gown ของผู้ที่เป็นลมออก ผู้ช่วย คนที่ 2 ถอด Isolation gown และถุงมือชั้นนอก ของตนเองออก รูป 4
- ผู้ช่วย คนที่ 2 ปลดเข็มขัดเครื่อง PAPR บริเวณเอวด้านหน้าของผู้ที่เป็นลมออก รูป 5
- ผู้ช่วย คนที่ 2 นำเครื่อง PAPR ออกจากเอวผู้ที่เป็นลม มาวางไว้เหนือศีรษะ โดยที่ยังไม่ปิดเครื่อง รูป 6
- ผู้ช่วย ทั้งสองคนช่วยกันถอด Hood PAPR ออกจากศีรษะผู้ที่เป็นลม โดยสอดมือเข้าไปจับชาย Hood ด้านใน ระวังอย่าให้เกิดการปนเปื้อนบริเวณใบหน้าและศีรษะผู้ที่เป็นลม รูป 7
- พลิกตะแคงตัวผู้ที่เป็นลมนอนหงาย
- ผู้ช่วย คนที่ 2 ปิดเครื่อง PAPR พร้อมเก็บเครื่องแยกห่างจากบริเวณที่ช่วยเหลือ รูป 8
- ผู้ช่วย ทั้ง 2 คน ถอด Hood ของชุด Coverall พร้อมหมวกคลุมผม ออกแล้วช่วยถอดชุด รูป 9
- ผู้ช่วยคนที่ 2 ช่วยพยุงศีรษะของผู้ที่เป็นลม ผู้ช่วย คนที่ 1 ช่วยถอด N95 รูป 10
- ผู้ช่วยทั้ง 2 ช่วยถอดชุด Coverall -พร้อมรองเท้าบู๊ท ->ถอด leg cover รูป 11
- ผู้ช่วยทั้ง 2 ช่วยกันเก็บ เครื่อง PAPR, ชุด PPE ใส่ถุงแดง เพื่อนำไปจัดการตามแนวทางที่กำหนด
หมายเหตุ : ตลอดการช่วยถอดชุดต้องประเมินอาการของผู้ที่เป็นลมร่วมด้วยเสมอ และลูบมือด้วย Alcohol hand rubs ระหว่างแต่ละขั้นตอนของการถอดชุด PPE
2.2 กรณีผู้เป็นลมรู้สึกตัวสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
- จัดให้เจ้าหน้าที่ ที่เป็นลม นั่ง โดย ผู้ช่วยคนที่ 2 พยุงหลัง รูป 1
- ผู้ช่วย คนที่ 1 อยู่ด้านหน้าผู้ที่เป็นลม ช่วยดึงเทปกาวที่ข้อมือออก
- ผู้ช่วย คนที่ 2 อยู่ด้านหลัง ช่วยดึงเทปกาวที่ปิด Isolation gown ด้านหลังออก และดึงเชือกผูกที่เอวด้านขวาให้หลุด
- ผู้ช่วย คนที่ 2 ถอดชุด Isolation gown และถุงมือชั้นนอก ของตนเองออก และ ผู้ช่วย คนที่ 1 ถอด Isolation gown ของผู้ที่เป็นลมออก
- ผู้ช่วย คนที่ 1 ปลดเข็มขัดเครื่อง PAPR บริเวณเอวด้านหน้าของผู้ที่เป็นลมออก และ ผู้ช่วย คนที่ 2 นำเครื่อง PAPR ออกจากเอวผู้ที่เป็นลม มาวางไว้ด้านข้าง โดยที่ยังไม่ปิดเครื่อง
- ผู้ช่วย ทั้งสองคนช่วยกันถอด Hood PAPR ออกจากศีรษะผู้ที่เป็นลม โดยสอดมือเข้าไปจับชาย Hood ด้านใน ระวังอย่าให้เกิดการปนเปื้อนบริเวณใบหน้าและศีรษะผู้ที่เป็นลม และ ผู้ช่วย คนที่ 2 ปิดเครื่อง PAPR
- ผู้ช่วย ทั้ง 2 คน ถอด Hood ของชุด Coverall พร้อมหมวกคลุมผม ออกแล้วช่วยถอดชุด พร้อมรองเท้าบู๊ท ->ถอด leg cover
- ผู้ช่วย คนที่ 2 ช่วยพยุงด้านหลัง ผู้ช่วย คนที่ 1 ช่วยถอด N95 พร้อมเก็บเครื่องแยกห่างจากบริเวณที่ช่วยเหลือ
- ผู้ช่วยทั้ง 2 ช่วยกันเก็บ เครื่อง PAPR, ชุด PPE ใส่ถุงแดง เพื่อนำไปจัดการตามแนวทางที่กำหนด
-การทำความสะอาดอุปกรณ์ พื้นผิว
การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลสนาม จังหวัดเชียงใหม่
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อ SARSCoV-2 (ไวรัสโควิด-19) ติดต่อกันผ่านทางการสัมผัสใกล้ชิดและทางการสัมผัสละอองฝอย (droplet) น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยเป็นหลัก ส่วนการติดเชื้อผ่านทางการสัมผัสพื้นผิวหรือวัสดุที่ปนเปื้อนไวรัสเป็นไปได้น้อย อย่างไรก็ตาม การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวสิ่งแวดล้อมก็ยังมีความจำเป็น เพื่อลดโอกาสในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านการสัมผัสบนพื้นผิวต่างๆ
ในการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อที่พื้นผิวต่างๆ นั้น แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ การทำความสะอาด (Cleaning) เป็นการขจัดฝุ่น เศษผง สารอินทรีย์ สิ่งสกปรก หรือเชื้อโรค ออกจากพื้นผิวต่างๆ แต่การทำความ สะอาดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ เพียงแต่ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคและลดความเสี่ยงในการ แพร่กระจายของเชื้อโรค ส่วนการฆ่าเชื้อ (Disinfection) โดยใช้สารเคมีนั้น จะเป็นการทำลายเชื้อโรคที่อยู่ บนพื้นผิวต่างๆ ให้ตายหรือลดปริมาณลงหรือทำให้เชื้อโรคหมดความสามารถในการแพร่เชื้อต่อไปได้ จึงมี แนวทาง ขั้นตอน และข้อควรระวัง ดังนี้
แนวทางการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวในสิ่งแวดล้อม
- ก่อนดำเนินการควรทราบว่า บริเวณใดบ้างที่จะทำความสะอาด บริเวณใดบ้างที่จะมีการทำความ สะอาดและมีการฆ่าเชื้อด้วย ควรปิดกั้นบริเวณพื้นที่หรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อก่อนดeเนินการทำความสะอาดและ ฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกัน ไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสมผัสกับเชื้อ
- วางแผนสำหรับการทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อที่พื้นผิวในสิ่งแวดล้อม ว่าจะดำเนินการใน บริเวณใดบ้าง ให้ครอบคลุมบริเวณที่มีความเสี่ยง
- จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการป้องกันตัวเองสำหรับผู้ทำความสะอาดตามความเหมาะสม เช่น หน้ากาก ถุงมือ รองเท้ายาง และอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทำความสะอาด เช่น ผ้าเช็ดพื้น แปรง ขัด น้ำยาทำความสะอาด และสารฆ่าเชื้อ เป็นต้น สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่เหมาะสม ขณะทำความสะอาดพื้นที่หรือพื้นผิว ที่ปนเปื้อนเชื้อ ระหว่างทำความสะอาด หากถุงมือชํารุดเสียหายมีรอยรั่ว ให้ถอดถุงมือออกและสวมถุงมือคู่ใหม่ทันทีควรกําจัดและทิ้ง PPE แบบใช้แล้วทิ้งหลังจากทำความสะอาดเสร็จสิ้น ในกรณีที่ใช้แว่นตา Goggles ควรทำการฆ่าเชื้อหลังการใช้แต่ละครั้ง และควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำทันทีหลังจากถอด PPE และชำระล้างร่างกายหลังเสร็จสิ้นการทำความสะอาด
- เลือกใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่มีด้ามจับ เพื่อสัมผัสโดยตรงกับพื้นผิวให้น้อยที่สุด ทำความสะอาดให้ครอบคลุมพื้นที่ เมื่อแล้วเสร็จให้ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกชิ้น
- สำหรับพื้นที่ภายในอาคารก่อนดำเนินการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ควรปิดเครื่องปรับอากาศ เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อระบายอากาศก่อนแล้วดำเนินการตามขั้นตอน
- เลือกใช้สารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อภายใน ระยะเวลาอันสั้น สารฆ่าเชื้อพื้นผิวที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าสามารถทำลายเชื้อไวรัสโคโรนาได้ภายใน เวลา 1 นาที ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 1% แอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70% และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5% เลือกใช้สารที่เหมาะสมกับพื้นผิวแต่ละประเภท เช่น ไฮโดรเจนไฮดรอกไซด์ไม่ควรใช้กับโลหะหรือ ผลิตภัณฑ์ที่มีการเคลือบสีเนื่องจากมีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นต้น
- สำหรับพื้นที่ภายในอาคาร ไม่ใช้วิธีการสเปรย์ฉีดพ่นหรือ การรมควันเพื่อฆ่าเชื้อโควิด-19 (Fumigation หรือ Misting) เนื่องจากการฉีดพ่นสารเคมีไม่สามารถขจัด สารอินทรีย์ที่อยู่บนพื้นผิวซึ่งเป็นตัวขัดขวางการฆ่าเชื้อ หากพื้นผิวมีวัตถุหรือวัสดุคลุมอยู่ ซอกมุมต่างๆ รวมถึง บริเวณที่สเปรย์พ่นไม่ถึง ทำให้ไม่สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การฉีดพ่นจะมี ความเสี่ยงและมีผลต่อสุขภาพของผู้ฉีดพ่นเองหรือผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น เช่น ทำให้มีอาการระคายเคืองดวงตา และผิวหนัง รวมทั้งมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเมื่อใช้สารฆ่าเชื้อชนิดฟอร์มัลดีไฮด์ สารประกอบ คลอรีน หรือ Quaternary Ammonium Compounds จึงแนะนำให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดพื้นผิว จะมี ประสิทธิภาพมากกว่า
- ส่งผ้าซักทำความสะอาด
- เช็ดพื้นผิวทั้งหมดที่อาจปนเปื้อนด้วยน้ำยาฟอกขาว หรือ 70% แอลกอฮอล์ตามความเหมาะสมของวัสดุ
- ทำความสะอาดพื้นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำยาฟอกขาวที่เตรียมไว้
- การทำความสะอาดพื้นผิว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ควรหลีกเลี่ยงการสร้างละอองในระหว่างการทำความสะอาด ควรใช้วิธีการเช็ดอย่างต่อเนื่อง
- ทำความสะอาดห้องน้ำ รวมถึงสุขภัณฑ์และพื้นผิวในห้องน้ำ โดยการราดน้ำยาฟอกขาวทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาทีแล้วล้างทำความสะอาดพื้นอีกครั้งด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างห้องน้ำตามปกติ
- ทิ้งอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ทำจากผ้าและวัสดุดูดซับ เช่น ผ้าถูพื้น ผ้าเช็ด หลังจากทำความสะอาดและ ฆ่าเชื้อในแต่ละพื้นที่ โดยสวมถุงมือ และนําอุปกรณ์ทิ้งใส่ถุงขยะติดเชื้อ รัดปากถุงให้มิดชิด
- ทำการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทำความสะอาดที่ต้องนํากลับมาใช้ใหม่ โดยการแช่ในน้ำยาฟอกขาว
- ทำความสะอาดถังถูพื้น โดยแช่ในน้ำยาฟอกขาวหรือล้างในน้ำร้อน
- เมื่อทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ในวันถัดไปเป็นเวลา 1 วัน
- ทำการกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกต้องและเหมาะสม
ขั้นตอนการทำความสะอาดพื้นผิว
- การทำความสะอาดควรเริ่มจากจุดที่มีความสกปรกน้อย (จุดที่สะอาดที่สุด) ไปยังจุดที่สกปรกมากที่สุด และทำความสะอาดจากระดับบนมายังระดับชั้นล่าง เนื่องจากฝุ่นหรือสิ่งสกปรกจะตกลงบนพื้น และยัง ช่วยให้การทำความสะอาดเป็นระบบไม่หลงลืมจุดต่างๆ
- เก็บกวาดสิ่งสกปรกออกก่อน
- ทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่ใช้อยู่หรือใช้น้ำผสมสบู่หรือผงซักฟอกเช็ดถูพื้นผิว โดย ใช้ผ้าที่ซักสะอาดแล้วในการเริ่มทำความสะอาดทุกครั้ง
- เพื่อให้สารฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพสูงสุดควรเตรียมก่อนการใช้งานและใช้ภายใน 24 ชั่วโมง หากจะใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์เป็นสารฆ่าเชื้อ อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานในบ้านที่มีส่วนประกอบของคลอรีน เช่น น้ำยาฟอกขาวเพื่อการฆ่าเชื้อได้
สารทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อ
เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถอยู่บนพื้นผิวของวัตถุต่าง ๆ เป็นเวลา 1 – 3 วัน พื้นผิวที่อาจสัมผัสปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงต้องได้รับการความสะอาดและฆ่าเชื้อ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด ดังนี้
- น้ำยาฟอกขาวสามารถใช้สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวได้ โดยผสมในอัตราส่วนดังนี้
- พื้นผิวทั่วไป ใช้น้ำยาฟอกขาวเจือจาง 1 ส่วนในน้ำ 99 ส่วน (ความเข้มข้น 05% หรือ
เท่ากับ 500 ppm)
- พื้นผิวที่มีน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ สารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น ห้องสุขา โถส้วม ใช้น้ำยาฟอกขาวเจือจาง 1 ส่วนในน้ำ 9 ส่วน (ความเข้มข้น 5%) ราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที
- สำหรับพื้นผิวที่เป็นโลหะ สามารถใช้ 70% แอลกอฮอล์ทำความสะอาดได้
ข้อควรระวัง
- ควรระวังไม่ให้สารเคมีเข้าตาหรือสัมผัสโดยตรง
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูก และปาก ขณะสวมถุงมือและระหว่างการทำ ความสะอาดและฆ่าเชื้อ
- ไม่ผสมน้ำยาฟอกขาวกับสารทำความสะอาดอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย
- ไม่นำถุงมือไปใช้ในการทำกิจกรรมประเภทอื่นๆ นอกจากการทำความสะอาดเท่านั้น เพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อโรค
แนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อทั่วไป
-การล้างมือ
แนวทางการทำความสะอาดมือ ของเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม
สำหรับเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสนาม การล้างมือเป็นมาตรการสำคัญในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ทุกระดับที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม ทำความสะอาดมือได้ถูกต้อง
2.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคโดยการสัมผัสด้วยมือ
การทำความสะอาดมือ มี 2 วิธี
1.การทำความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่ (hand washing) เมื่อมือเปื้อนสิ่งสกปรกอย่างเห็นได้ชัดเจน
2.การทำความสะอาดมือด้วยน้ำยาทำความสะอาดมือที่มี ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (Alcohol-based hand rub) ใช้ ทำความสะอาดมือในกรณี ที่มือไม่ได้ เปื้อนสิ่งสกปรก เลือดหรือสารคัดหลั่งอย่างเห็นได้ ชัด ทำโดยใช้แอลกอฮอล์ประมาณ 3 – 5 มล. ถู ให้ ทั่วบริเวณมือโดยใช้ เวลาประมาณ 20 – 30 วินาที.ตาม 6 ขั้นตอน และ หลัก 5 moment
การทำความสะอาดมืออย่างมีประสิทธิภาพ จะลดและทำลายเชื้อบนมือได้อย่างทั่วถึง โดยมีขั้นตอน ดังนี้
แนวทางการเก็บขยะ COVID ในโรงพยาบาลสนาม
การแต่งกายของผู้จัดเก็บขยะในหอผู้ป่วย/โซน ANTI ROOM
การแต่งกายของผู้จัดเก็บขยะในหอผู้ป่วย
- MASK N 95
- หมวกคลุมผม
- COVER ALL
- ถุงมือ
- PAPR
- รองเท้าบู๊ท/Leg Cover
การแต่งกายของผู้จัดเก็บขยะโซน ANTI ROOM
- หมวกคลุมผม
- แว่นป้องกันตา / face shield
- Surgical Mask
- ถุงมือ
- กาว์นกันน้ำ/เสื้อกันฝน
- รองเท้าบู๊ท/Leg Cover
วิธีปฏิบัติ
- ซ้อนถุงขยะสีแดง 2 ชั้นในกล่องกระดาษ (ขนาดของกล่องตามปริมาณกิจกรรม)
- ทิ้ง Shield. ถุงมือ ถุงหุ้มขา เสื้อกาว์น เสื้อกันฝน Mask. N. 95 ในถุงขยะ มัดปากถุงขยะใบแรกให้แน่น ด้วยเชือกฟาง และ ฉีดพ่นด้วย 70 % Alcohol
- มัดปากถุง ชั้นที่ 2 ให้แน่น ด้วยเชือกฟาง และ ฉีดพ่นด้วย 70 % Alcohol
- ปิดฝากล่องชั้นนอกให้มิดชิด และ ฉีดพ่นด้วย 70 % alcohol ซ้ำ
- เขียนป้ายติดว่า , สถานที่, เวลาที่หน้ากล่อง เพื่อเป็นการสื่อสารให้พนักงานเก็บขยะของบริษัทเข้าใจ (พนักงานทำความสะอาดเค้าจะคุ้นกับคำว่า COVID. เป็นภาษาอังกฤษ) ตามรูป
- นำขยะไปพัก ณ.บริเวณที่จัดเตรียมพักขยะติดเชื้อ รอ บริษัทมารับเพื่อนำไปกำจัด
- ผู้ช่วยเหลือคนไข้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดเก็บขยะ ต้องอาบน้ำหลังเสร็จภารกิจทุกครั้ง
- รองเท้าบู๊ท ให้แยก
25. ภาคผนวก

-เอกสารอ้างอิง
ป
-รายชื่อคณะทำงานคู่มือปฏิบัติงานโรงพยาบาลสนามฉบับปรับปรุงพย.64
ป
Impressum
Tag der Veröffentlichung: 04.11.2021
Alle Rechte vorbehalten